วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Education Media)






โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา ใช้ประกอบการสอนวิชาต่าง ๆ จุดสำคัญอยู่ที่เนื้อหาน่าสนใจ และความสวยงามของส่วนติดต่อผู้ใช้ โดยนักเรียนอาจคัดเลือกหัวข้อที่นักเรียนทั่วไปทำความเข้าใจได้ยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาโปรแกรมบทเรียน เช่น บทเรียนสำเร็จรูป
ตัวอย่างโปรแกรม บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ศาสนา ศีลธรรม และจริยธรรม

แหล่งอ้างอิง : http://www.krukaewta.net/

ตัวอย่างรูปเล่มโครงงาน


วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ตัวอย่างโครงงาน

ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์ "การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อการศึกษา"


วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต


 การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต  หมายถึง  การเชื่อมต่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือคอมพิวเตอร์ใดๆ หรืออุปกรณ์มือถือ หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงบริการต่างๆในอินเทอร์เน็ตได้ (เช่นอีเมลและเวิลด์ไวด์เว็บผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider, ISP) เสนอการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตให้ประชาชนทั่วไปผ่านทางเทคโนโลยีต่างๆที่มีความหลากหลายของอัตราการส่งสัญญาณข้อมูล (ความเร็ว)





       การเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งานเป็นสำคัญ เช่นใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อค้นหาข้อมูลที่บ้าน ใช้ในเชิงธุรกิจ ใช้เพื่อความบันเทิง หรือใช้ภายในองค์กรขนาดใหญ่ ดังนั้นการเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตจึงมีความแตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านความต้องการ รวมทั้งเงินทุนที่จะใช้ในการติดตั้งระบบด้วย ปัจจุบันการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่นิยมใช้มี 5 ลักษณะ คือ

1. การเชื่อมต่อแบบ Dial Up
          เป็นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่เคยได้รับความนิยมในยุคแรก ๆ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บุคคล กับสายโทรศัพท์บ้านที่เป็นสายตรงต่อเชื่อมเข้ากับโมเด็ม (Modem) ก็สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้แล้ว ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตต้องทำการติดต่อกับผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านหมายเลขโทรศัพท์บ้าน โดยผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจะกำหนดชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) มาให้เพื่อเข้าใช้บริการอินเตอร์เน็ต 



2.การเชื่อมต่อแบบ ISDN?(Internet Services Digital Network) 
        เป็นการเชื่อมต่อที่คล้ายกับแบบ Dial Up เพราะต้องใช้โทรศัพท์และโมเด็มในการเชื่อมต่อ ต่างกันตรงที่ระบบโทรศัพท์เป็นระบบความเร็วสูงที่ใช้เทคโนโลยีระบบดิจิตอล (Digital) และต้องใช้โมเด็มแบบ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ ดังนั้นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบ ISDN จะต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ คือ 

ต้องติดต่อผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) ที่ให้บริการการเชื่อมต่อแบบ ISDN 
การเชื่อมต่อต้องใช้ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ 
ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่จะใช้บริการนี้ อยู่ในอาณาเขตที่ใช้บริการ ISDN ได้หรือไม่ 


3.การเชื่อมต่อแบบ DSL?(Digital Subscriber Line)
         เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยใช้สายโทรศัพท์ธรรมดา ที่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตและพูดผ่านสายโทรศัพท์ปกติได้ในเวลาเดียวกัน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตแบบ DSL ก็คือ 

ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่ติดตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ให้บริการระบบโทรศัพท์แบบ DSL หรือไม่ 
บัญชีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในแบบ DSL 
การเชื่อมต่อต้องใช้ DSL Modem ในการเชื่อมต่อ 
ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ Lan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย 


4.การเชื่อมต่อแบบ Cable 
         เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยผ่านสายสื่อสารเดียวกับ Cable TV จึงทำให้เราสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไปพร้อม ๆ กับการดูทีวีได้ โดยต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ 

ใช้ Cable Modem เพื่อเชื่อมต่อ 
ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ Lan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย 


5.การเชื่อมต่อแบบดาวเทียม (Satellites) 

         เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเรียกว่า Direct Broadcast Satellites หรือ DBS โดยผู้ใช้ต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ จานดาวเทียมขนาด 18-21 นิ้ว เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวรับสัญญาณจากดาวเทียม ใช้ Modem เพื่อเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต

แหล่งอ้างอิง : http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=5bf204ac20583837




วันอังคารที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

อุปกรณ์เทคโนโลยีสมัยใหม่

COOL LEAF คีย์บอร์ดกระจก


                     ย้อนกลับไปเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา COOL LEAF คีย์บอร์ดกระจกที่หลายคนสนใจ ในที่สุดมันก็ได้กลายเป็นแก็ดเจ็ต (Gadget) ที่พร้อมจำหน่ายแล้ว ซึ่งมันดูดีกว่าต้นแบบที่เคยเป็นข่าวมากทีเดียว

COOL LEAF เป็นคีย์บอร์ดที่่บางเฉียบ-แบนราบไปกับพื้นเรียบได้เลย โดยด้านบนของมันจะเป็นพื้่นผิวเรียบสะท้อนแสงได้เหมือนกระจกส่องหน้าไม่มีผิด ซึ่งทางบริษัทผู้ผลิตกล่าวว่า มันทำจากชั้นฟิล์มพลาสติก PET ซ้อนกันถึง 2,000 ชั้น ไม่ว่ามันจะหมายถึงอะไรก็ตาม แต่เซ็นเซอร์รับสัญญาณที่ซ้อนทับกันเป็นช่องภายใต้คีย์บอร์ดจะสามารถตรวจจับแรงกดของผู้ใช้ทันทีที่ใช้นิ้วออกแรงสัมผัสพื้นผิวกระจกด้านบน แม้จะดูเหมือนแผ่นกระจกทั่วไป แต่ LED ที่อยู่ด้านล่างสามารถส่องสว่าง เพื่อให้แสงทะลุผ่านช่องตัวอักษรของปุ่มต่างๆ ขึ้นมาปรากฎให้เห็นได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะในที่ๆ มีแสงน้อย หรือแสงภายในอาคาร ทั้งนี้ ผู้ใช้สามารถปรับระดับความดังของเสียง beep ที่บอกให้รู้ว่า คุณได้กดปุ่มนั้นๆ
                     ประโยชน์อื่นๆ ที่ได้รับนอกจากความเท่ และบางเบา นั่นก็คือ ด้วยความที่มันมีคุณสมบัติเป็นพื้นผิวเรียบเหมือนกระจก ดังน้้นผู้ใช้ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับสิ่งสกปรกที่จะตกลงไปในช่องระหว่างคีย์บอร์ดเหมือนทั่วไป แต่แน่นอนว่า มันจะมีรอยมันของนิ้วมือหลงเหลือให้เห็นเป็นร่อยรอยอยู่บ้าง ซึ่งง่ายมากต่อการทำความสะอาด COOL LEAF จะมีปุ่มกด 108 คีย์ และเชื่อมต่อผ่าน USB ทำงานร่วมกับระบบปฏิบัติการ Windows 7, Vista และ XP (ยังไม่สามารถใช้ได้กับ Mac หรือ Linux) สำหรับคุณผู้อ่านที่สนใจสามารถสั่งซื้อ “คีย์บอร์ด-กระจก” Minebea COOL LEAF ได้จากเว็บไซต์ Dynamism สนนราคาอยู่ที่ 249.99 เหรียญฯ หรือประมาณ 7,500 บาท
แหล่งที่มา : http://ponnaha.wordpress.com/2011/09/15/cool-leaf-%E0%B8%84%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%81/#more-385

วันอังคารที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2557

อุปกรณ์พื้นฐานคอมพิวเตอร์

     •Mouse หรือ เม้าส์

เม้าส์ คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมตัวชี้บนจอคอมพิวเตอร์ (pointing device) เป็นอุปกรณ์สำคัญในการใช้งานคอมพิวเตอร์ชิ้นหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันถูกออกแบบมาให้มีรูปร่าง ลักษณะ สีสัน ต่างๆกัน บางรุ่นมีไฟประดับให้สวยงาม เพื่อให้เมาะสมกับการใช้งานในแต่ละประเภทและความชื่นชอบของผู้ใช้ เช่นมีขนาดเล็ก มีส่วนโค้งและส่วนเว้าเข้ากับอุ้งมือของผู้ใช้ มีรูปร่างสีสันแปลกตาไปจากรุ่นทั่วๆไป หรือเป็นรูปตัวการ์ตูน และล่าสุดได้มีการพัฒนา เมาส์อากาศ (Air Mouse) ซึ่งสามารถใช้งานเมาส์โดยถือขึ้นมาเอียงไปมาในอากาศโดยไม่จำเป็นต้องใช้แผ่นรอง ก็สามารถควบคุมตัวชี้ได้เช่นกัน
การทำงานของเมาส์ ภายในตัวเมาส์จะมีอุปกรณ์สำหรับตรวจจับตำแหน่งการเคลื่อนไหวของลูกกลิ้งยาง(สำหรับรุ่นเก่า)หรืออุปกรณ์ตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของแสง (ในเมาส์ที่ใช้แอลอีดีหรือเลเซอร์เป็นแหล่งกำเนิดแสง) โดยตัวตรวจจับจะส่งสัญญาณไปที่คอมพิวเตอร์เพื่อแสดงผลของตัวชี้บนหน้าจอคอมพิวเตอร์
การเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ การใช้งานเมาส์ร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะต้องมีการต่อมันเข้ากับช่องต่อของคอมพิวเตอร์ ซึ่งในยุคแรกๆนั้นช่องสำหรับต่อเมาส์จะมีลักษณะเป็นหัวกลมใหญ่ภายในมีขาเป็นเข็มเรียกว่าแบบ DIN ต่อมามีการพัฒนาช่องต่อเป็นแบบหัวเข็มที่เล็กลงเรียกว่า PS/2 แต่การเชื่อมต่อทั้งสองแบบนั้นไม่สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้หลากหลาย จึงมีการพัฒนาช่องต่อแบบ USB ขึ้นมา และในเวลาใกล้ๆกันก็ได้มีการพัฒนาการเชื่อมต่อเมาส์แบบไร้สายขึ้นมาโดยใช้สัญญาณวิทยุเป็นตัวเชื่อมต่อแทนสายเรียกว่า เมาส์ไร้สาย (Wireless mouse)
เมาส์ได้ชื่อมาจากรูปร่างของตัวมันเอง และสายไฟ ซึ่งมีลักษณะคล้ายหนู (Mouse) และหางหนู และขณะเดียวการเคลื่อนที่ของตัวชี้บนหน้าจอมีลักษณะการเคลื่อนที่ไม่มีทิศทางเหมือนการเคลื่อนที่ของหนู

•Microprocessor หรือ ไมโครโพรเซสเซอร์
ไมโครโพรเซสเซอร์ คือ ตัวผลประมวลใน microchip บางครั้งเรียกว่า logic chip ซึ่ง ไมโครโพรเซสเซอร์ เป็นเสมือนเครื่องยนต์ในการขับเคลื่อน เมื่อมีการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ โดย ไมโครโพรเซสเซอร์ ได้รับการออกแบบในการประมวลผลทางคณิตศาสตร์ และตรรกะ ซึ่งใช้พื้นที่ขนาดเล็กที่เรียกว่า register การทำงานของ ไมโครโพรเซสเซอร์ แบบดั้งเดิมใช้สำหรับการบวก ลบ การเปรียบเทียบค่า และการนำข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังที่อื่น การทำงานเหล่านี้เป็นผลจากกลุ่มของคำสั่ง (instruction) ที่เป็นส่วนของการออกแบบ ไมโครโพรเซสเซอร์ เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ไมโครโพรเซสเซอร์ ได้รับการออกแบบให้ไปดึงคำสั่งแรกจาก BIOS หลังจากนั้น BIOS จะได้รับนำมาอยู่หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ เพื่อการประมวลคำสั่ง รวมถึงการเรียกโปรแกรมประยุกต์อื่น ๆ

แหล่งที่มา :
http://www.com5dow.com
http://th.wikipedia.org




ประเภทของระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ

1.จงบอกความหมายของประเภทของระบบสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ ทั้ง 2 ประเภท
ประเภทที่ 1 คือ ระบบสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจของบุคคล(EIS)
                 หมายถึงระบบสารสนเทศของหน่วยงานที่มีการเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่ทั้งหมดภายในองค์การ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือองค์การนั้นมีระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงทั้งองค์การ



ประเภทที่ 2 คือ ระบบสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม(GDSS)

             ความหมายของระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม
Huber (1984) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม หมายถึง การผสมผสานการใช้งานระหว่าง ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ ภาษา และกระบวนการเพื่อการสนับสนุนการประชุมกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจต่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งDeSanctis, Gallupe (1987) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม หมายถึง ระบบที่มีปฏิสัมพันธ์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้กลุ่มคนในเรื่องของการตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่ไม่มีโครงสร้าง ดังนั้น องค์ประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม จึงต้องประกอบด้วย ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ ผู้ใช้ และกระบวนการที่ใช้สนับสนุนการดำเนินการประชุม จนสามารถทำให้การประชุมเป้นไปด้วยดี ดังนั้น ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม จึงต้องประกอบไปด้วยเครื่องมือชนิดอื่นๆ อีกมากมายที่จะอำนวยความสะดวกให้ผู้
ร่วมตัดสินใจได้ เพิ่มความรวดเร็วในการตัดสินใจ และใช้งานร่วมกันได้
2.จงบอกความแตกต่างระหว่าง EIS กับ GDSS
 ระบบของ GDSS จะเน้นออกแบบไปในทางที่ประชากรเป็นกลุ่มๆ ทางด้านความสามารถนั้น
จะต้องหาบุคลากรที่มีความชำนาญในด้านนี้พอสมควร ในด้านข้อมูลถือว่ามีความละเอียดสูงโดยจะได้รับความคิดเห็นได้หลากหลาย แล้วนำข้อเสนอหรือความคิดเห็นมาปรับปรุงแก้ไขได้
  ส่วนของระบบ EIS จะเน้นไปในทางของผู้บริหารเพียงอย่างเดียว ข้อมูลที่ได้มีความรวดเร็วเป็นสถานการณ์ปัจจุบัน โดย จะสามารถวิเคราะห์แนวโน้มในภายภาคหน้าได้ ซึ่งเป็นระบบสำคัญให้กับองค์กรหรือบริษัทของผู้บริหารเป็นอย่างดี เป็นตัวช่วยในหารตัดสินใจที่ดี


แหล่งที่มา:
http://chumpron.blogspot.com/2007/12/gdss.html
http://ac2-009.blogspot.com/2012/07/tps-mis-dss-eis-es-oas.html 
http://thanasite.blogspot.com/2013/06/eis-gdss.html





วันอังคารที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การใช้และประเภทของระบบสารสนเทศ

1.ยกตัวอย่างกระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศที่นักเรียนเคยปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

   •การฝาก ถอน โอนเงินหรือชำระเงินในค่าใช้จ่ายต่างๆ 

   •การเผยแพร่และค้นหาข้อมูลในระบบเวิลด์ไวด์เว็บ
•การใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น โทรศัพท์ เครื่องถ่ายเอกสาร ฯลฯ


2.ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทของระบบสารสนเทศ แล้วสรุปข้อมูลตามหัวข้อต่อไปนี้


   •ระบบสารสนเทศแบบประมวลรายการ(TPS:Transaction Processing Systems)
เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึกและประมวลข้อมูลที่เกิดจาก ธุรกรรมหรือการปฏิบัติงานประจำหรืองานขั้นพื้นฐานขององค์การ เช่น การซื้อขายสินค้า การบันทึกจำนวนวัสดุคงคลัง เมื่อใดก็ตามที่มีการทำธุรกรรมหรือปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าวข้อมูลที่เกี่ยวข้องจะเกิดขึ้นทันที 
  - การใช้ เช่น ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า ข้อมูลที่เกิดขึ้นก็คือ ชื่อลูกค้า ประเภทของลูกค้า จำนวนและราคาของสินค้าที่ขายไป รวมทั้งวิธีการชำระเงินของลูกค้า


    •ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS:Geographic Information System)



ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information System : GIS คือกระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ สัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง ข้อมูลและแผนที่ใน GIS เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในรูปของตารางข้อมูล และฐานข้อมูลที่มีส่วนสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS และทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับเวลาได้-การใช้ เช่น การแพร่ขยายของโรคระบาด การเคลื่อนย้าย ถิ่นฐาน การบุกรุกทำลาย การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ เมื่อปรากฏบนแผนที่ทำให้สามารถแปลและสื่อความหมาย ใช้งานได้ง่าย 









      •ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (OAS: Office Automation System)
เป็นระบบที่ใช้บุคลากรน้อยที่สุด โดยอาศัยเครื่องมือแบบอัตโนมัติและระบบสื่อสารเชื่องโยงข่าวสารระหว่างเครื่องมือเหล่านั้นเข้าด้วยกัน QAS มีจุดมุ่งหมายให้เป็นระบบที่ไม่ใช้กระดาษ (Paperless System) ส่งข่าว สารถึงกันด้วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange) แทน ซึ่งมีรูปแบบในการใช้งาน 2 ลักษณะคือ
รูปแบบของระบบงานพิมพ์และการประมวลผลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Publishing & Processing System) ได้แก่การสื่อสารด้วยข้อความ รูปภาพ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-Mail) โทรสาร (FAX)หรือ เสียงอิเล็กทรอนิกส์ (Voice Mail) เป็นต้น
รูปแบบการประชุมทางไกลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Meeting System) เป็นเทคนิคที่ทำให้กลุ่มคนทั่วโลกสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ คล้ายการพูดคุยกันโดยตรง เช่น การประชุมทางไกลแบบมีแต่เสียง (Audio Conferencing),การประชุมทางไกลแบบมีทั้งภาพและเสียง (Video Conferencing) หรือ ทั้งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โทรสาร และ เสียงอิเล็กทรอนิกส์รวมกัน เป็นต้น
-การใช้ เช่น การส่ง e-mail
 

แหล่งข้อมูล : 
http://jajajaba.blogspot.com/
https://sites.google.com/site/informationtechnologym4/unit1/1-2-prapheth-khxng-rabb-sarsnthes






วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557


ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ( Decision Support System : DDS )

          การ ตัดสินใจเป็นบาบาทสำคัญของผู้บริหารที่มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจของ องค์การ การมีสารสนเทศที่ดี และเครื่องมือในการเข้าถึงข้อมูล รวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลที่ดีนั้น จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถพิจารณาทางเลือกต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว คาดการณ์และแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในบทนี้จะกล่าวถึงระบบสนับสนุนการตัดสินใจ โดยเริ่มจากการจัดการกับการตัดสินใจ   ระดับการตัดสินใจภายในองค์การ  ประเภทของการตัดสินใจ  ส่วนประกอบคุณสมบัติของระบบ DSS เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างDSS กับระบบสารสนเทศอื่น   ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่ม(Group Decision Support System: GDSS)  ส่วนประกอบและประโยชน์ของ GDSS รวมถึงการประยุกต์ใช้
ระบบ DS



Meaning of Decision Support System (DSS)

               A decision support system (DSS) is a computer program application that analyzes business data and presents it so that users can make business decisions more easily. It is an "informational application" (to distinguish it from an "operational application" that collects the data in the course of normal business operation).Typical information that a decision support application might gather and present would be:


  • Comparative sales figures between one week and the next
  • Projected revenue figures based on new product sales assumptions
  • The consequences of different decision alternatives, given past experience in a context that is described
A decision support system may present information graphically and may include an expert system or artificial intelligence (AI). It may be aimed at business executives or some other group of knowledge workers.

ที่มา : http://www.gotoknow.org/posts/502175

ที่มา :http://searchcio.techtarget.com/definition/decision-support-system